รับมือกับปัญหาลูกน้อยร้องงอแง เอาแต่ใจอย่างไรดี
เด็กเมื่อโตขึ้นแน่นอนว่า การที่จะรับรู้หรือมีเหตุผลมากยิ่งขึ้นนั้น จะทำให้คุณพ่อคุณแม่นะเลี้ยงง่ายมากยิ่งกว่าเดิม แน่นอนว่าวัยเด็กตั้งแต่ 1 เดือนจนถึง 2 ปีนั้น อาจจะไม่ค่อยเข้าใจหรือสื่อสาร กับพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ค่อยได้ แต่ตั้งแต่ 2 ขวบปีขึ้นไป เด็กจะเริ่มสื่อสารเข้าใจ มีเหตุมีผลมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ใช่สำหรับเด็กทุกคน เด็กบางคนเมื่ออายุสอง 2 ขึ้นแล้ว ก็ยังดื้อ เอาแต่ใจอยู่ดี
บางคนก็บอกว่าเลยวัยทอง 2 ขวบจะดีขึ้น แต่สำหรับบางคนกลับไม่ดีขึ้นเลย เด็กบางคนสามารถผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ เรื่องของอารมณ์เกรี้ยวกราด เรื่องของการเอาแต่ใจ งอแง งี่เง่า ก็ไม่มีปัญหาพ่อแม่ ผู้ปกครองได้ปวดหัวอีก แต่สำหรับบางคนก็ยังมีปัญหางี่เง่า เอาแต่ใจและไม่สามารถที่จะแก้ไขได้นั่นเอง
ปัญหานี้เกิดจากเด็กทุกคน ต้องการเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ผู้ปกครอง ต้องการความรักและการดูแลเอาใจใส่อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงก่อให้เกิดปัญหาลูกงอแง เอาแต่ร้องหรือเอาแต่ใจนั่นเอง การแก้ไขปัญหานี้สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง ไม่ได้เป็นสิ่งยุ่งยากวุ่นวายอะไรมากมาย ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาและการรับมือ สำหรับลูกน้อยในปัญหางอแง มีดังต่อไปนี้คือ
1. ให้เวลากับลูกนั้นมากที่สุดโดยพยายามในการที่จะให้เวลากับลูกน้อย ให้ได้รับความรักอย่างเต็มที่ ไม่เอาเวลาไปอยู่กับงานมากจนเกินไป แม้ว่างานจะรัดตัวมากขนาดไหน ก็สมควรต้องตื่นเจียดเวลามาให้กับลูกน้อย ให้มากที่สุดให้เขาได้รับความรักมากที่สุดด้วย
2. พยายามพูดคุยกับสิ่งที่ลูกทำผิด หรือพฤติกรรมในการเอาแต่ใจของลูก พ่อแม่ต้องสอนลูกในสิ่งที่ทำว่า เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และแสดงกริยาที่จริงจัง
3. ดูพฤติกรรมเอาแต่ใจของลูกว่า เกิดจากสาเหตุอะไร เช่น มีอะไรเป็นตัวกระตุ้นหรือพฤติกรรม ในการเรียกร้องความสนใจของลูก เกิดจากอะไร เช่น เกิดจากทุกครั้งที่เราคุยโทรศัพท์ หรือให้ความสนใจกับเด็กคนอื่น หรือลูกไม่ได้รับของที่ต้องการ จึงทำพฤติกรรมไม่ดีด้วยกันงอแงนั่นเอง การพยายามค้นหาเหตุผลในการเรียกร้อง ความสนใจของลูกน้อยว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ที่ทำให้เขาพยายามในการเรียกร้อง ความสนใจจะทำให้แก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น สามารถดูจากต้นตอทุกอย่างว่า เกิดจากอะไรบ้างบางทีการร้องไห้ของลูก ก็สามารถที่จะไขจากตัวของพ่อแม่เอง
ในการแก้ไขปัญหาลูกน้อย งอแง งี่เง่า เอาแต่ใจ จะต้องเริ่มจากพ่อแม่เป็นอันดับแรก วิธีการง่ายง่ายคือพ่อแม่ผู้ปกครองต้องใจแข็ง อย่าตอบสนองด้วยการร้องไห้ของลูกทันทีทันใด หรือตอบสนองเร็วมากจนเกินไป ควรใช้สติพิจารณาก่อนว่า สาเหตุที่ร้องเกิดจากสาเหตุอะไร อาจจะใช้วิธีการในการสอนลูก หรือแก้ไขปัญหาของลูก โดยขั้นแรกๆหลีกเลี่ยงการใช้คำตำหนิ เพราะอาจจะทำให้ลูกน้อยใจ หรือร้องไห้เพิ่มมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม วิธีการเริ่มต้นแรกแรกอาจจะใช้ไม้อ่อน โดยวิธีการปลอบโยนด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวลก่อน และแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นก่อน โดยพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ควรโมโห หรือจัดการกับลูกโดยใช้ไม้เรียวแต่เพียงอย่างเดียว คุณใช้วิธีปลอบโยนและสอนในเบื้องต้นก่อน เมื่อไม่ได้ผลจึงโดยไม้แข็งพัฒนาขึ้นมาเป็นไม้แข็ง
โดยไม้แข็งวิธีการง่ายๆ คือพยายามควบคุมวิธีการพูดของคุณ และสอนสิ่งที่เขาไม่ควรทำสิ่งใดไม่ควรทำ ทั้งหมดอยู่ที่วิธีการพูดของพ่อแม่ผู้ปกครอง จึงมาดูว่าเมื่อลูกร้องไห้เอาแต่ใจ งอแงหรือเอาแต่ใจ ทุกทุกสิ่งทุกอย่าง คุณพ่อคุณแม่ควรปฏิเสธสิ่งนั้นทันที หรือทำแกล้งไม่ได้ยิน และไม่ตอบสนองพฤติกรรมหรือความต้องการ ของลูกจะเป็นลำดับขั้นที่สองส่วนลำดับสุดท้าย คุณจะต้องหนักแน่นไม่สนใจ ในการร้องไห้คร่ำครวญของเด็ก เมื่อเราไม่สนใจเด็กในช่วงวัยนี้จะเรียนรู้การกระทำมากกว่าคำพูด เมื่อเด็กเห็นว่าพ่อแม่ไม่ตามใจ สุดท้ายก็จะหยุดร้องและการเอาแต่ใจ ไปได้เอง